วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

ขับขี่ปลอดภัย

การขับรถอย่างถูกวิธี : การอนุรักษ์พลังงาน


การขับรถอย่างถูกวิธี การขับรถอย่างถูกวิธีจะมีส่วนช่วยให้เรา สามารถช่วยอนุรักษ์พลังงาน ลดการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง หากเราปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้


1. ไม่ควรเร่งเครื่องก่อนออกรถ การเร่งเครื่องให้มีความเร็วรอบสูง จะทำให้อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น โดยไม่จำเป็น เพราะเมื่อเครื่องยนต์มีความเร็วรอบสูง อัตราความต้องการน้ำมัน เชื้อเพลิงจะสูงตามด้วย เมื่อออกรถเราไม่จำเป็นต้องเร่งเครื่องยนต์ โดยทั่วไปความเร้วรอบที่เหมาะสม สำหรับการออกรถประมาณ 1100-1250 รอบต่อนาที

2. ไม่ควรติดเครื่องขณะจอดรถคอย กรณีที่จอดรถคอยเป็นเวลานาน ควรดับเครื่องยนต์เพราะจะทำให้ สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเปล่าประโยชน์ การติดเครื่องจอดอยู่เฉยๆ เป็นเวลา 5 นาที จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์ 0.3 ลิตร

3. ขับรถที่ความเร็วเหมาะสม การขับรถด้วยความเร็วสูง จะต้องใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงตาม ดังนั้นเราควรควบคุม ความเร็วในอัตราที่เหมาะสม คือ ประมาณ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง หากขับที่ความเร็ว 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง จะใช้น้ำมันมากขึ้น ประมาณร้อยละ 17

4. การใช้เกียร์ให้สัมพันธ์กับความเร็วรอบ ไม่ควรใช้เกียร์ต่ำ(เกียร์ 1,2) ที่ความเร็วรอบสูง หรือ ใช้เกียร์สูง (เกียร์ 3,4,5) ที่ความเร็วรอบต่ำ จะมีผลทำให้กำลังเครื่องตก และจะสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าปกติ

5. การเปิดเครื่องปรับอากาศ ในการเปิดเครื่องปรับอากาศ จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 25 ดังนั้นถ้าหากเราใช้เครื่องปรับอากาศตามความจำเป็น และไม่ปรับให้เย็นมากเกินไป จะสามารถลดการสิ้นเปลือง น้ำมันเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างมาก

6. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักมากเกินไป กรณีที่เราบรรทุกน้ำหนักเกินเพียง 50 กิโลกรัม จะมีผลทำให้ระยะทางที่วิ่งได้ต่อน้ำมัน 1 ลิตร สั้นลง 1 กิโลเมตร ดังนั้นจึงควรสำรวจในรถหากมีสิ่งของที่ไม่จำเป็นควรนำออก

7. เติมลมยางให้เหมาะสม ตรวจเช็คและเติมลมยาง ให้เหมาะสมกับขนาดของรถยนต์ หากลมยางแข้งเกินไป จะทำให้ยางแตก และขับขี่ไม่นุ่มนวล ในขณะเดียวกันถ้าลมยางอ่อนเกินไป จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง มากยิ่งขึ้น ดังนั้นควรเติมลมยางตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จากผู้ผลิต หากความดันลมยางต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกๆ 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จะทำให้สิ้นเปลือง น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2

8. ตรวจเช็ครถยนต์ตามระยะเวลาที่กำหนด การตรวจเช็ครถยนต์ตามเวลาที่กำหนด เป็นการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ของรถยนต์ไม่ให้สึกหรอ และสามารถใช้งานต่อได้อย่างปลอดภัย และไม่เปลืองน้ำมัน

9. การตกแต่งรถ การตกแต่งรถบางอย่าง เช่น การขยายหน้ายางล้อ ให้ใหญ่กว่ามาตรฐานเดิม จะเป็นการเพิ่มพื้นที่การรับน้ำหนักของรถ เมื่อต้องเพิ่มอัตราเร่ง จะทำให้เครื่องยนต์ ใช้ความเร็วรอบสูงกว่าปกติ เป็นเหตุให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย



10.เปิดไฟหน้าทิ้งไว้จะมีผลอย่างไร และมีผลต่อเครื่องยนต์หรือไม่ ในกรณีที่ท่านจอดรถและลืมปิดไฟหน้า จะไม่มีผลเสียต่อระบบการทำงานของเครื่องยนต์ แต่จะทำให้กระแสไฟใน แบตเตอรี่ถูกจ่ายไฟตลอดเวลา ดังนั้นหากไฟหน้าถูกเปิดทิ้งไว้นานอาจจะมีผลทำให้กระแสไฟในแบตเตอรี่ไม่เพียงพอใน การสตาร์ทเครื่องยนต์
11. การตรวจเช็ครถก่อนเดินทางไกล การตรวจเช็คที่ไม่เสียเวลามากนักก่อนเดินทาง จะช่วยให้มั่นใจในการขับขี่
ตรวจรถภายนอก
ยาง ตรวจความดันลมยาง ดอกยาง และรอยฉีกขาด ตรวจดูว่าขันแน่นดี แต่ก็ไม่แน่นจนเกินไปจนคลายออก ไม่ได่ด้วยตัวเอง รอยรั่วซึม ตรวจดูว่ามีร่องรอยน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรค หรือ น้ำรั่วซึมจากใต้ท้องรถ ยางปัดน้ำฝน ทดลองปัดดู ไฟส่องสว่าง ตรวจดูไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรค ไฟเลีย้วหรืออื่นๆรวมทั้งระดับไฟหน้าด้วยว่าเป็นปกติทั้งหมด
ตรวจภายในรถ ยางอะไหล่และแม่แรง ตรวจเช็คลมยาง และให้แน่ใจว่าแม่แรงและด้ามขันใช้งานได้ตามปกติ เข็มขัดนิรภัย ตรวจเช็คว่าหัวเข็มขัดสามารถลอ็คได้เรียบร้อย แตร ให้แน่ใจว่าดังดี แผงควบคุมและอุปกรณ์ ตรวจดูให้แน่ใจว่าทำงานเป็นปกติ และที่ปัดน้ำฝน ปัดได้เรียบร้อยสม่ำเสมอ เบรก เช็คระยะฟรีขาเบรคอยู่ในค่ากำหนดหรือไม่ ฟิวส์สำรองที่เตรียมไว้ต้องมีขนาดค่ากระแสใช้ได้ตามที่กำหนดที่แผงฟิวส์ ตรวจใต้ฝากระโปรงหน้าระดับน้ำหล่อเย็น ควรจะมีอยู่ถึงระดับสูงสุดในถังพักสำรอง หม้อน้ำและท่อยาง ควรดูว่าด้านหน้าหม้อน้ำหมดจดไม่มีเศษวัสดุ หรือใบไม้ติดอยู่ ดูท่อยางว่ามีรอยแยกเปื่อย มีรอยฉีกขาดหรือหลวม สายพานขับต่างๆ ต้องไม่มีรอยแตก เลอะน้ำมันหล่อลื่น และความตึงสายพานอยู่ในค่ากำหนด แบตเตอรี่และสายไฟ ตรวจดูและเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับที่กำหนดดูเปลือกแบตเตอรี่ว่ามีร่องรอยเสียหายหรือไม่ ดูขั้วต่อและสายไฟว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ ระดับน้ำมันเบรคและคลัชท์ ตรวจดูว่าระดับน้ำมันเบรคและคลัทช์อยู่ในระดับที่ถูกต้อง ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจดูว่าท่อน้ำมันมีการรั่ว หลุดหรือไม่

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรื่อง หมาหมา

สุนัข

สุนัข หรือเรียกว่า หมา (อังกฤษ: Dog) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ออกลูกเป็นตัว ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว 2 คู่ เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน 1 ชิ้น ที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน (Cuon alpinus) ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis lupus familiaris สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายพันธุ์ เช่น ลาบราดอร์, โกลเด้น, ชิวาวา และอีกมากมาย มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ดุและไม่ดุ พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น โกลเด้น ลาบราดอร์ ที่มีขนาดเล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ ส่วนที่ดุ ได้แก่ ร็อดไวเลอร์ อัลเซเชียน สุนัขแต่ละพันธุ์จะมีนิสัยแตกต่างกัน สุนัขพัฒนามาจากสัตว์กินเนื้อและล่าเหยื่อ ดังนั้นวิวัฒนาการของฟันสำหรับเคี้ยวเนื้อและกระดูกจึงยังคงมีอยู่ รวมทั้งการมีประสาทดมกลิ่นและตามล่าเหยื่อที่ดีมาก นอกจากนี้สุนัขยังมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงทำให้วิ่งได้เร็วและเร่งความเร็วได้เท่าที่ต้องการ ลักษณะการเดินของสุนัขจะทิ้งน้ำหนักตัวบนนิ้วเท้า ซึ่งส่งผลให้สุนัขเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วกว่าสัตว์ชนิดอื่น นอกจากนี้สุนัขยังมีสัญชาตญาณในการทำงานเป็นกลุ่ม ดังนั้นสุนัขจึงสามารถล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลักษณะทั่วไปและการล่าเหยื่อ
สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะที่ต่างกันออกไป แต่ลักษณะโดยรวมของสุนัขทั่ว ๆ ไปแล้ว สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ออกลูกเป็นตัว มีขนสั้นหรือยาวแตกต่างไปตามสายพันธุ์ บางตัวอาจมีขนสีดำ สีขาว สีน้ำตาล สีส้ม หรือบางตัวอาจมีหลายสีปะปนกัน ขนาดของหูจะสั้นหรือยาวก็แตกต่างไปตามสายพันธุ์เช่นกัน สุนัขที่เลี้ยงในประเทศไทยนั้นจะมีทั้งพันธุ์ไทยเช่น บางแก้ว พันธุ์ไทยหลังอาน เป็นต้น โดยเฉพาะสายพันธุ์บางแก้วนี้ ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา สายพันธุ์บางแก้วได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยความสวยงามของสายพันธุ์บางแก้วนี้เอง ทำให้มีนักเพาะพันธุ์สุนัขชาวไทย(breeder)ที่พัฒนาสายพันธุ์บางแก้วได้สวยงาม ส่งขายถึงต่างประเทศกันเลย ส่วนพันธุ์ต่างประเทศที่ได้รับความนิยมเลี้ยง คือสายพันธุ์ชีสุห์ พุดเดิ้ล ปอมเมอร์เลเนี่ยน ชิวาว่า ปัจจุบันคนไทยนิยมเลี้ยงสายพันธุ์ต่างประเทศที่มีขนยาวสายงามมากขึ้น เช่น ปอมเมอร์เลเนี่ยน และชิวาวาขนยาว ชิสุห์ก็เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันเพราะราคาที่ไม่แพง ทำให้ได้รับความนิยมในไทยมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นตลาดนัดสวนจตุจักร และสนามหลวง2 จะพบว่ามีชิสุห์วางขายปริมาณมากที่สุดกว่าสายพันธุ์อื่นๆ สุนัขขสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

สุนัขล่าเนื้อ
สุนัขล่าเนื้อ (Hounds) สุนัขในกลุ่มนี้มีประสาทสัมผัสใน
การดมกลิ่นที่ดีมาก สรีระร่างกายแข็งแรง ทำให้สุนัขล่าเนื้อเป็นสุนัขรุ่นแรกๆ ที่ถูกมนุษย์นำมาใช้ล่าสัตว์ สุนัขล่าเนื้อนั้น อาจแบ่งย่อยได้อีก 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มสายตาดี เช่น สุนัขพันธุ์ เกรย์ฮาว์น อัฟกัน และ สะลูกี้ สุนัขพวกนี้จะมีความว่องไว วิ่งได้รวดเร็ว และมีสายตาดี สุนัขกลุ่มนี้จะมีรูปร่างสูง และช่วงขายาว
กลุ่มประสาทการรับกลิ่นดี เช่น บัสเสทฮาว์น ดัชชุน นีเกิ้ล ฯลฯ สุนัขประเภทนี้จะมีขาสั้นแต่ร่างกายแข็งแรง หัวใหญ่ หูแผ่กว้างใหญ่ และมีประสาทสัมผัสการรับกลิ่นที่ดีกว่ามนุษย์ถึง 1 ล้านเท่า

สุนัขเล่นกีฬา
สุนัขเล่นกีฬา (Sporting Dogs) เป็นสุนัขพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นผู้ช่วยในการล่าสัตว์โดยเฉพาะ มีหน้าที่การค้นหาเหยื่อ และนำเหยื่อกลับมาให้เจ้าของ เราสามารถแบ่งสุนัขเล่นกีฬาได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ สเปเนี่ยน เป็นพันธุ์สุนัขที่มีรูปร่างขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป เฉลียวฉลาด จมูกรับกลิ่นได้ดี ลักษณะเด่นคือหูยาวตูบ แบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่มคือ พันธุ์ที่ใช้ล่าสัตว์ และพันธุ์ขนาดเล็ก (ปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มสุนัขที่เลี้ยงไว้ดูเล่น) ในขณะที่มันออกล่าสัตว์ เมื่อมันพบเหยื่อ มันจะพุ่งเข้าโจมตีเหยื่อทันที พอยเตอร์ และเซทเตอร์ เป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าสเปเนี่ยน ขายาว หูตูบ และจมูกรับกลิ่นได้ดี
รีทรีฟเวอร์ เป็นสุนัขที่เป็นมิตร แข็งแรง มีโครงสร้างดี และ มีความเชี่ยวชาญในการล่าสัตว์ มันถนัด การค้นหา และนำเหยื่อกลับมาให้เจ้าของ มันมักจะทำงานร่วมกับสุนัขพันธุ์สเปเนี่ยน นอกจากนี้ รีทรีฟเวอร์ยังสามารถว่ายน้ำได้ดี มันจึงมักถูกใช้ในการล่า
สัตว์ปีกที่บินอยู่เหนือน้ำ เช่น ห่านป่า เป็นต้น

สุนัขเทอร์เรีย
สุนัขเทอร์เรีย (Terriers) เป็นสุนัขขนาดเล็ก ต้นกำเนิดอยู่ใน
ประเทศอังกฤษ มีนิสัยชอบดมกลิ่น อยากรู้อยากเห็น ตามรอย และขุดหาสิ่งที่สงสัย มันจึงกลายเป็นผู้ช่วยในการล่าสัตว์ สุนัขเทอร์เรียจะทำหน้าที่ตามรอยสัตว์ป่า เช่น กระต่าย หนู แบดเจอร์ หมาป่า เมื่อพบแหล่งที่อยู่อาศัยของเหยื่อ มันจะมุดลงไปในรูนั้น ทำให้สัตว์เหล่านั้นตกใจและวิ่งออกมาจากรัง เพื่อให้คนตามล่าต่อไป แม้เทอร์เรียจะเป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก ขาสั้น แต่เคลื่อนไหวได้อย่างว่องไว มีความมานะอดทน บากบั่น กล้าหาญ ทำให้มันเคยถูกใช้เป็นสุนัขสงคราม แต่ปัจจุบันนิยมนำมาเลี้ยงเป็นเพื่อนเล่นในบ้าน สุนัขเทอร์เรียแยกย่อยได้อีกหลายสายพันธุ์ อาจแบ่งเทอร์เรียเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของขน ได้แก่ พันธุ์ขนเรียบและสั้น เช่น ฟอกซ์ เทอร์เรียขนสั้น พันธุ์ขนหยาบและยาว เช่น สก็อตทิช เทอร์เรีย และ เคอรีบลู เทอร์เรีย เป็นต้น บนเกาะอังกฤษนั้น มีสุนัขเทอร์เรียอีกมากมายหลายสายพันธุ์ กระจายไปตามท้องที่ต่าง ๆ แต่ส่วนหนึ่งได้กลายพันธุ์ไป เหลือแต่สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยม เช่น ฟ็อกซ์ เทอร์เรีย, บูล เทอร์เรีย, แบดลิงตัน และ แมนเชสเตอร์ เทอร์เรีย จากเกาะอังกฤษ สกาย, เครน และ สก็อตทิช เทอร์เรีย จากสก็อตแลนด์ ไอริช และเคอรีบลู เทอร์เรีย จากไอร์แลนด์ เป็นต้น

สุนัขทำงาน
สายพันธุ์สุนัขทำงาน (Working dogs) ได้จากการที่มนุษย์พบว่าสุนัขเป็นสัตว์ที่มีความสามารถเกินกว่าที่คาดไว้ มันมีความฉลาด แข็งแกร่ง ว่องไว มานะอดทน สายตาดี และติดตามกลิ่นได้อย่างดีเยี่ยม สุนัขจึงถูกคัดเลือกพันธุ์เพื่อใช้งาน นอกเหนือจากการล่าสัตว์ จึงได้สายพันธุ์นี้ ที่มีลักษณะเด่น แตกต่างกันไปและมีทักษะที่หลากหลาย มนุษย์นำสุนัขมาใช้งาน เป็นเวลานับร้อยปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็น เลี้ยงเพื่อเฝ้ายาม สำรวจหาระเบิดในสงคราม ต้อนฝูงสัตว์ ลากสัมภาระ ตามรอยหาผู้ร้าย และ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปัจจุบันยังมีสุนัขที่ถูกฝึกเลี้ยงไว้เพื่อเป็นผู้ช่วยตำรวจ นำทางให้กับคนพิการด้านสายตา ตรวจค้น
ยาเสพติด แก๊สรั่ว วัตถุระเบิด และช่วยเหลือผู้พิการด้านการได้ยินอีกด้วย ตัวอย่างของสายพันธุ์สุนัขตำรวจ ได้แก่ บ็อกเซอร์, พินซ์เช่อร์, โดเบอร์แมน, รอทไวเลอร์ เยอรมันเชพเพิร์ด, เกรดเดน เป็นต้น ยังมีสุนัขทำงานอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของชาวไร่ชาวนา เช่น คอลลี, พูลิ, โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก, เยอรมันเชพเพิร์ด, เช็ทแลนด์ ชีพด็อก และ คอร์กี้ โดยสุนัขพวกนี้ จะคอยช่วยเหลือชาวไร่ ในการเฝ้าดูแลฝูงปศุสัตว์ เนื่องจากพวกมันช่วยชาวไร่ทำงานได้ดีมาก ดังนั้น เกือบทุกประเทศที่มีการเลี้ยงสัตว์ จะมีการพัฒนา สายพันธุ์สุนัขต้อนสัตว์ จนได้พันธุ์สุนัขประจำถิ่นของตนเอง เช่น คอลลี จากสก็อตแลนด์ พูลิ จากฮังการี และ คอร์กี้ จากเวลส์ เป็นต้น สุนัขเป็นสัตว์ที่มีความอดทน และแข็งแกร่ง จนสามารถช่วยมนุษย์ทำงานหนัก ๆ ได้ นอกจากนี้ ประเทศในเขตอากาศหนาวมาก ๆ ซึ่งการเดินทาง เป็นไปด้วยความยากลำบาก ยังใช้สุนัข เช่น อะลาสกัน มาลามูท, ไซบีเรียน ฮัสกี้ และ ซามอยด์ เพื่อเป็นพาหนะเดินทาง โดยสามารถวิ่งได้ระยะทางถึง 160 กิโลเมตร ในเวลา 18 ชั่วโมง สุนัขแต่ละตัวมักจะมีความสามารถเฉพาะอย่าง มนุษย์มักใช้สุนัขทำงานอีกหลายประเภท โดยสุนัขบางพันธุ์ถูกฝึกเพื่อทำงานเฉพาะอย่าง เช่น สุนัขเซนต์ เบอร์นาร์ดถูกฝึกให้ค้นหา และนำบรั่นดีไปให้กับผู้หลงทางในหิมะ เบอร์นีส เมาน์เทน ช่วยลากเลื่อนที่บรรทุกนมและเนยไปส่งที่ตลาด โปรตุกีส วอเทอร์ ด็อก ช่วยดำน้ำงมหาอวนและเครื่องมือหาปลาที่ตกน้ำ หรือแม้กระทั่งปลาที่หลุดออกไปจากอวน นอกจากนี้ ยังมีสุนัขที่ทำหน้าที่ประหลาดที่สุด คือ สุนัขพันธุ์นอร์วีเจียน ลุนเดฮันด์ กลายเป็นสุนัขที่ใช่ในการล่านก โดยถูกฝึกมาให้ทำงานในถ้ำ หรือหน้าผาที่สูงชัน เพื่อจู่โจมกับรังนกพัฟฟินอีกด้วย

สุนัขตุ๊กตา
สุนัขตุ๊กตา (Toy) เป็นสุนัขตัวเล็กๆ เดิมเป็นสุนัขตัวใหญ่ แต่ถูกพัฒนาพันธุ์จนกลายเป็นสุนัขตัวเล็ก สุนัขประเภทนี้เหมาะสำหรับ เลี้ยงไว้แก้เหงา มันสามารถแก้เหงาให้กับคนชราที่ถูกทอดทิ้ง คนป่วย รวมไปถึงเด็ก ๆ ให้หายจากความโดดเดี่ยว สุนัขตุ๊กตาถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อหลายพันปีมาแล้ว โดยเมื่อ 4,000 ปีก่อน สุนัขสิงโต (Lion Dogs) ที่หน้าตาคล้าย ๆ กับ สุนัขปักกิ่งใน
จีน และพบแลปด็อกส์ ที่โด่งดังในกลุ่มชาวโรมัน ในสมัยก่อนนั้น สุนัขตุ๊กตาเป็นที่นิยมมากในกลุ่มผู้หญิง และเด็ก ๆ ในสังคมชั้นสูง
แม้ว่าสุนัขตุ๊กตาจะตัวเล็ก แต่มันก็ยังมีสัญชาตญาณของสุนัขอยู่ครบถ้วน มันพร้อมที่จะปกป้องเจ้านาย และบ้านที่มันอาศัยอยู่ โดยการเห่าเสียงดัง ๆ หรือร้องครวญคราง เพื่อเตือนเมื่อมีผู้บุกรุก และบางตัวอาจจู่โจมผู้บุกรุกก็มี

สุนัขอเนกประสงค์
สุนัขอเนกประสงค์ (Non Sporting) เป็นสุนัขนานาประโยชน์ตามแต่เจ้าของจะใช้งาน สุนัขพวกนี้หลาย ๆ พันธุ์มีผู้นิยมซื้อมาเลี้ยงกันมาก อย่างเช่น สุนัขพันธุ์ดัลเมเชี่ยน เป็นต้น เนื่องจากเป็นสุนัขที่ประโยชน์ใช้สอยที่ไม่ธรรมดา สุนัขพันธุ์ลาซา แอพโซ่ เป็นสุนัขที่
ลามะในธิเบตเลี้ยงไว้เพื่อป้องกันภัย และถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ สำหรับสุนัขพันธุ์เชาเชา ซึ่งถือกำเนิดในมองโกเลียเมื่อ 3,000 ปีก่อน ในช่วงแรก ๆ เป็นสุนัขที่ถูกใช้ในสงคราม แต่ต่อมากลับถูกชาวจีนฆ่าเพื่อเป็นอาหาร และนำเอาขนของมันไปทำเครื่องนุ่งห่ม